เส้นขนาน
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเส้นขนาน
ในชีวิตประจำวัน เราใช้ความรู้เกี่ยวกับเส้นขนานมาช่วยตกแต่งสรรค์สร้างวัสดุอุปกรณ์สิ่งจำเป็นต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยมากมาย
เส้นขนานกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
ด้านยาวและด้านกว้างของโต๊ะทั้งสองด้านขนานกันช่วยสร้างความสะดวกในการใช้และความสวยงาม วัสดุ อุปกรณ์ของอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ใช้เส้นขนาน
เส้นขนานบนท้องถนน
ความรู้เกี่ยวกับเส้นขนานใช้บนท้องถนนช่วยให้ความสะดวกในการใช้รถ ใช้ถนนและแก้ปัญหาการจราจรได้มาก
เส้นขนานบนรางรถไฟ
เส้นขนานบนรางรถไฟหรือรถไฟฟ้าช่วยให้เราเดินทางไปทุก ๆ แห่งได้อย่างสะดวกปลอดภัยอุปกรณ์เครื่องตกแต่งภายในบ้านของเราส่วนใหญ่ก็ใช้ความรู้เกี่ยวกับเส้นขนานช่วยในการตกแต่ง ออกแบบให้สวยงามน่าดู น่าอยู่ สร้างความสุขสบายในชีวิตประจำวัน เส้นขนานยังมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันอีกมาก การนำความรู้เกี่ยวกับเส้นขนานไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ และความรู้เกี่ยวกับเส้นขนาน จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ระดับสูงด้วย
ความหมายเส้นขนาน
เส้นขนานคือ เส้นตรงสองเส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกัน ไม่ตัดกัน และมีระยะห่างระหว่างเส้นทั้งสองเท่ากันเสมอ เส้นขนานอาจเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งก็ได้ เส้นตรงที่ตั้งฉากกับเส้นตรงเดียวกันย่อมขนานกัน และเส้นตรงที่ขนานกับเส้นตรงเดียวกันย่อมขนานกัน
ตัวอย่างที่1
เมื่อเส้นตรง AB ขนานกับเส้นตรง CD เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ AB // CD
เส้นขนานและมุมภายใน
การพิจารณาเส้นตรงคู่ใดขนานกันอาจต้องเขียนรูปโดยลากเส้นให้ยาวออกไปมาก ๆ จึงเห็นว่าเส้นตรงทั้งสองตัดกัน ต่อไปนี้เป็นวิธีอีกแบบหนึ่งจะพิจารณาว่าเส้นตรงคู่ใดขนานกัน โดยใช้มุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
ตัวอย่างที่ 2
เส้นตรง 1 ตัดเส้นตรง m และ n ที่จุด A และจุด B เรียกเส้นตรง 1 ว่าเส้นตัด AB - เรียกมุม 1 และมุม 2 ว่ามุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด - เรียกมุม 3 และมุม 4 ว่ามุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด
แบบฝึกหัด
1.ให้นักเรียนพิจารณาว่าเส้นตรงแต่ละคู่ต่อไปนี้ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด
2. จงบอกว่ามุมคู่ใดบ้างเป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวของเส้นตัด
3.ให้นักเรียนพิจารณาว่าเส้นตรงแต่ละคู่ต่อไปนี้ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด
4.จงบอกว่ามุมคู่ใดบ้างเป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวของเส้นตัด
5.กำหนดเส้นตรง m และ n ขนานกันและมีเส้นตัดให้นักเรียนหาค่าของตัวแปร
เฉลย
1.ขนานกันเพราะ 40๐ + 140๐ = 180๐
2.มุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัด EF มีสองคู่ คือ BEFและ DFE กับ AEFและ CFE
3.ขนานกันเพราะ 115๐ + 65๐ = 180๐
4.มุม a กับ b และมุม c กับ d
5.x = 180๐– 130๐ = 50๐